“มุ่งสู่การพัฒนาตามหลักธรรมาภิบาล ประสานพลังประชาชน สนใจผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อมปลอดภัย บริการที่ทันสมัย ดำรงไว้ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ข้อมูลเทศบาล
ว่าที่ร้อยตรีปัญญา อุ่นประดิษฐ์ - นายกเทศมนตรีตำบลสันกำแพง<br>โทร. 065-2412957

ว่าที่ร้อยตรีปัญญา อุ่นประดิษฐ์

นายกเทศมนตรีตำบลสันกำแพง
โทร. 065-2412957

สายตรงนายก

sankamphaeng
sankamphaeng

ข่าวประชาสัมพันธ์

เนื่องจากสถานการณ์อาหารเป็นพิษ จากการรับประทานเห็ดพิษในปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตามข้อมูลโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566

  • 4 กันยายน 2566
  • อ่าน 79 ครั้ง

เทศบาลตำบลสันกำแพง ประชาสัมพันธ์
เนื่องจากสถานการณ์อาหารเป็นพิษ จากการรับประทานเห็ดพิษในปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตามข้อมูลโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 พบผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษร่วมกันทั้งหมด 27 เหตุการณ์ ผู้ป่วยจำนวน 102 ราย และผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเสียชีวิตร้อยละ 12.75 อีกทั้งสภาพภูมิอากาศขณะนี้ ที่ยังคงมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดตามธรรมชาติหลายชนิด ทั้งเห็ดกินได้ และเห็ดมีพิษ ดังนั้น จึงขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนการเจ็บป่วยจากการกินเห็ดพิษ ดังนี้
การป้องกันการเจ็บป่วย จากการกินเห็ดพิษ ให้ยึดหลัก “เห็ดไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน”
1. ไม่เก็บหรือกินเห็ดที่ไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจว่ากินได้
2. ไม่เก็บเห็ดที่อยู่ในระยะอ่อนมากิน เช่น ระยะเป็นตุ่มหรือตูมท มีรูปร่างคล้ายไข่ อาจจะไม่สามารถแยกเห็ดกินได้ และเห็ดพิษออกจากกัน เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันมาก จนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า
3. ไม่กินเห็ดดิบ โดยไม่ปรุงให้สุกก่อนกิน ทำให้เกิดพิษได้ เช่น เห็ดน้ำหมาก เป็นต้น
4. ไม่กินเห็ดร่วมกับแอลกอฮอล์ เช่น เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึก หรือเห็ดถั่วที่ขึ้นตามธรรมชาติ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ , อาเจียน , ปวดท้อง , ถ่ายเหลว ฯลฯ
1. หากมั่นใจว่ากินเห็ดเพียงชนิดเดียว และมีอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย หลังจากกินไม่เกิน 4 ชั่วโมง ให้กินผงถ่านกัมมันต์ เพื่อดูดซับพิษ และสังเกตอาการที่บ้าน ค่อย ๆ จิบน้ำ เพื่อชดเชยของเหลวที่เสียไป หากเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ยังมีอาการมากขึ้น ให้รีบไปสถานพยาบาลใกล้บ้าน
2. เน้นการรีบไปสถานพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด เพื่อรับการประเมิน และการดูแลรักษาเบื้องต้น
3. ไม่แนะนำให้กระตุ้นอาเจียน เนื่องจากจะทำให้เกิดความล่าช้าในการไปสถานพยาบาล และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ จากการกินไข่ขาวดิบที่มีการปนเปื้อน เกิดบาดแผลในคอและช่องปาก จากการล้วงคอด้วยนิ้วที่ไม่สะอาด หรือเล็บยาว ความดันต่ำ หรือระดับเกลือแร่ผิดปกติ จากการอาเจียนที่มากเกินไป ซึ่งพิษจากเห็ดทำให้อาเจียนมากอยู่แล้ว
4. ลดการดูดซึมพิษเห็ด ด้วยผงถ่านกัมมันต์ ให้รีบกินในปริมาณ 50 กรัม

ข้อมูลจาก: กรมควบคุมโรค

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อน: